ประเพณีลอยกระทงกับชาวมอญ
(ประวัติพระมหาเถระอุปคุตตะ)
(ประวัติพระมหาเถระอุปคุตตะ)
ความสัมพันธ์ระหว่างงานประเพณีลอยกระทงกับพระ
มหาเถระอุปคุตตะ ในอดีตเมื่อสมัยพุทธกาลนานมาแล้ว
ตำนานในพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า มีหมู่บ้านชาวประมงแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ ณ
แคว้นชมพูทวีป(ประเทศอินเดีย) ผู้คนดำรงชีวิตด้วยการหาปลา
อยู่มาได้มีชาวประมงผู้หนึ่งออกเรือหาปลาและได้ปลามาตัวหนึ่ง
จึงนำปลาตัวนั้นกลับมาเพื่อทำอาหาร
เมื่อกลับมาถึงบ้านและผ่าท้องปลาตัวนั้นออกมากลับพบเด็กหญิงคนหนึ่งอยู่ภาย
ใน ด้วยความอัศจรรย์ใจจึงนำเด็กหญิงนั้นไปถวายแด่พระเจ้ามหาราช
ราชาผู้ครองแคว้นของตน พระเจ้ามหาราชได้ตั้งชื่อเด็กหญิงผู้นั้นว่า
ราชบุตรีมัจฉะเทวี ทรงเลี้ยงดูมัจฉะเทวีจนกระทั่งเจริญวัยได้ ๑๘ ชันษา
และปรากฏว่านางมัจฉะเทวีมีกลิ่นตัวเหม็นสาปมาก
พระเจ้ามหาราชจึงนำนางลอยแพไปกลางแม่น้ำคงคา ฝ่ายมหาฤๅษีคุตฏะ
ได้เห็นแพลอยมาดังนั้น
ด้วยความสงสัยจึงเอาไม้เท้าที่ถืออยู่เปิดดูและพบว่านางมัจฉะเทวีนั้นตั้ง
ครรภ์อยู่แล้ว มหาฤๅษีจึงนำนางมัจฉะเทวีมาชุบเลี้ยง
จนนางคลอดบุตรออกมาเป็นชาย ได้ชื่อว่าอุปคุตตะ
เมื่อเจริญวัย ขึ้นมหาฤๅษีจึงนำเด็กชายอุปคุตตะไปถวายแด่พระเจ้ามหาราช พระเจ้ามหาราชต้องการให้อุปคุตตะขึ้นครองราชสมบัติแต่นางมัจฉะเทวีไม่ยินยอม จึงเกิดการแย่งชิงอุปคุตตะกุมารกันขึ้นอย่างรุนแรงระหว่างนางมัจฉะเทวีกับ พระเจ้ามหาราช เมื่อพระอินทร์ทรงทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้คว้าเอาตัวอุปคุตตะกุมารไป และตัดสินด้วยการทิ้งตัวอุปคุตตะกุมารลงกลางแม่น้ำคงคา แต่ด้วยอานุภาพและบุญญาธิการของกุมาร จึงบังเกิดปราสาทราชบัลลังก์ท่ามกลางมหานทีรองรับตัวกุมารไว้ เมื่อมหาชนทั้งหลายได้พบเหตุมหัศจรรย์ดังกล่าวจึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและกราบ นมัสการ กระทำอามิสบูชา เพื่อความหมดจดจากเคราะห์ร้ายนานาประการ อันคำว่ามหาเถระอุปคุตตะนั้น แปลว่าเป็นผู้มีฤทธิ์ ชนะภูติผีปีศาจทั้งปวง สามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนได้ มหาชนทั้งหลายจึงออกนามกันว่า “เรือจิตะนาคะ” หรือวันลอยกระทง และได้ยึดถือเป็นหลักสำคัญในการบูชาพระมหาเถระอุปคุตตะ จนสืบทอดเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
เมื่อเจริญวัย ขึ้นมหาฤๅษีจึงนำเด็กชายอุปคุตตะไปถวายแด่พระเจ้ามหาราช พระเจ้ามหาราชต้องการให้อุปคุตตะขึ้นครองราชสมบัติแต่นางมัจฉะเทวีไม่ยินยอม จึงเกิดการแย่งชิงอุปคุตตะกุมารกันขึ้นอย่างรุนแรงระหว่างนางมัจฉะเทวีกับ พระเจ้ามหาราช เมื่อพระอินทร์ทรงทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้คว้าเอาตัวอุปคุตตะกุมารไป และตัดสินด้วยการทิ้งตัวอุปคุตตะกุมารลงกลางแม่น้ำคงคา แต่ด้วยอานุภาพและบุญญาธิการของกุมาร จึงบังเกิดปราสาทราชบัลลังก์ท่ามกลางมหานทีรองรับตัวกุมารไว้ เมื่อมหาชนทั้งหลายได้พบเหตุมหัศจรรย์ดังกล่าวจึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและกราบ นมัสการ กระทำอามิสบูชา เพื่อความหมดจดจากเคราะห์ร้ายนานาประการ อันคำว่ามหาเถระอุปคุตตะนั้น แปลว่าเป็นผู้มีฤทธิ์ ชนะภูติผีปีศาจทั้งปวง สามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนได้ มหาชนทั้งหลายจึงออกนามกันว่า “เรือจิตะนาคะ” หรือวันลอยกระทง และได้ยึดถือเป็นหลักสำคัญในการบูชาพระมหาเถระอุปคุตตะ จนสืบทอดเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น